ประวัติความเป็นมา อบต.ดอนแร่
ชาวไท – ยวน ตำบลดอนแร่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบอาณาจักรล้านนา ดินแทนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระบัญชาให้กองทัพกรมหลวงเทพบริรักษ์กองทัพเมืองเวียงจันทร์พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านนายกขี้นไปตีเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดต้อนชาวเมืองราว ๒๓,๐๐๐ คนเศษ อพยพมาทางทิศใต้ แบ่งครัวเรือนออกเป็น ๕ ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่เมืองเวียงจันทร์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง
ชาวราชบุรีที่มีตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำ แม่กลอง ห่างจากราชบุรีปัจจุบันไปทางทศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นทีต่อมามีการขยายครัวเรือนออกไปจากเดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และได้อพยพมาจับจองพื้นที่หัวไร่ ปลายนา ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน ซึ่งจะเรียกชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของพื้นที่นั้น ๆ
ที่มาของชื่อตำบลดอนแร่ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่าในอดีตที่บริเวณนี้มีความแห้งแล้งกันดารมาก เนื่อจากมีหินกรวดเยอะ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “แร่” และเป็นที่ดอน จึงเรียกกันต่อมาว่า “
ดอนแร่”
ตำบลดอนแร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัว จังหวัดราชบุรี เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ผู้คน ร้อยละกว่า 96 % เป็นคนเชื้อสายไทย-ยวน ซึ่งแต่เดิมมีพื้น เพถิ่นฐานอยู่ที่เชียงแสน จ.เชียงราย แต่มีเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ ทำให้ต้องระหกระเหินเดินทางมาตั้งรกราก อยู่ที่ จ.ราชบุรี ในช่วงต้นๆ สมัยรัตนโกสินทร์ คนดอนแร่ ส่วนใหญ่ยังมีภาษาพูด วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตเดิมๆ อาชีพส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกร ทำไร่ ทำนา จำนวน ประชากรทั้งตำบลประมาณ 4,400 คน จาก 10 หมู่บ้าน ในชุมชนมีวัด และโรงเรียน 2 แห่ง